วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย

         
                                           ประเพณีทำขวัญข้าว 



           เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงที่ข้าวตั้งท้อง แต่เดิมจะอยู่ในราวกลางเดือน ๑๐ หรือประมาณเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ของทุกปี แต่อย่างไรก็ตามจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 

ลักษณะความเชื่อ 

      เชื่อว่าถ้าได้ทำขวัญข้าว และถ้าพระแม่โพสพได้รับเครื่องสังเวยแล้ว ไม่ทำให้เมล็ดข้าวล้ม หนอน สัตว์ต่าง ๆ 
มากล้ำกราย ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนถวายแก่พระสงฆ์เมื่อข้าวนาสุกดีแล้ว เมื่อนวดข้าวเสร็จก็จะกำหนดวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์นำข้าวขึ้นยุ้ง ชาวบ้านก็จะมาร่วมทำขวัญข้าว
ร้องเพลงทำขวัญแม่โพสพ 


เครื่องสังเวย ให้นำเครื่องสังเวยไปบูชาแม่โพสพในแต่ละครั้ง 
ช่วงข้าวในนากำลังตั้งท้อง 
กล้วย อ้อย ถั่ว งา ส้ม อย่างละ ๑ คำใส่ตะกร้าสาน 
หมาก พลูจีบ ๑ คำ 

เมื่อเกี่ยวข้าวและนำขึ้นยุ้งข้าว 
หมาก พลูจีบ ๑ คำ 
บุหรี่ ๑ มวน 
ข้าวที่เกี่ยวแล้ว ๑ กำ 
ผ้าแดง ผ้าขาว ขนาด ๑ คืบ อย่างละ ๑ ผืน 


ความสำคัญ การทำขวัญข้าวนั้น เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และ
เมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยาก และประสบความสำเร็จด้วยดี 

พิธีกรรม ช่วงแรกเมื่อข้าวตั้งท้อง ชาวนาจะนำตาแหลวไปปักไว้ที่หัวนา และขอบูชาพระแม่โพสพ ให้รับเครื่องสังเวย อันประกอบด้วยกล้วย อ้อย ถั่ว งา ส้ม มัดแขวนไว้
กับตาแหลว และนำหมาก พลูจีบ ๑ คำ ใส่กรวยไว้หัวนา เมื่อถึงช่วงเกี่ยวข้าว ก็จะเอาหมาก พลูจีบ ๑ คำ บุหรี่มวน ๑ มวน ไปเชิญพระแม่โพสพ ผู้หญิงจะเกี่ยวข้าว ๑ กำ
นำไปบูชาเป็นข้าวแม่โพสพในยุ้ง พร้อมผ้าแดง ผ้าขาว ขนาด ๑ คืบ อย่างละ ๑ ผืนใส่กระบุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น